หลายคนคงมีความสงสัยว่าระบบการก่อสร้างด้วยระบบสำเร็จรูปหรือระบบพรีคาสท์ ที่กำลังได้รับความนิยมในการก่อสร้างบ้าน มีความแข็งแรงเท่ากับหรือแตกต่างกับระบบการก่อสร้างแบบเสา คาน ที่หล่อในสถานที่ก่อสร้างเช่นที่เห็นดำเนินการอยู่โดยทั่วไปหรือไม่นั้น หากเราพิจารณาระบบของการก่อสร้างแล้วไม่มีความแตกต่างกันในด้านการรับน้ำหนักหรือความแข็งแรงของระบบโครงสร้าง แต่เมือพิจารณาระบบของโครงสร้างที่มีความแตกต่างกัน เช่น ระบบเสา คาน เปรียบเทียบกับระบบผนังรับน้ำหนักที่นิยมใช้ในการก่อสร้างบ้านแล้ว จะพบว่าระบบผนังรับน้ำหนักจะมีความแข็งแรงและประหยัดมากกว่าระบบเสาโครง ประมาณร้อยละ 10 ถึง 15 ทั้งนี้เนื่องจากระบบผนังรับน้ำหนักสามารถรับน้ำหนักได้ดีและเหมะสมกว่าเมื่อใช้กับ อาคารบ้านพักอาศัยทั่วไป แต่ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างอาคารโรงงานอุตสาหกรรม
เมื่อเราหันมามองถึงความมั่นคงแข็งแรง ของตัวอาคารหรือบ้านที่สร้างด้วยระบบพีคาสท์ ในกรณีที่เกิดเหตุภัยภัยทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ไฟไหม หรือมีพายุพัดแรง เป็นต้น นั้น บ้านที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์โดยเฉพาะระบบก่อสร้างแบบผนังรับน้ำหนักนั้นจะสามารถรับแรงหรือมีความมั่นคงแข็งแรงมากกว่าระบบเดิมมาก เนื่องจากระบบผนังรับน้ำหนักมีความสามารถในการรับแรงสั้นสะเทือนหรือแรงโยกของแผ่นดินไหวหรือลมได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาคารที่มีความสูงมากหรือตึกสูงทั่วไปก็มักจะใช้ระบบผนังรับน้ำหนักสำหรับรับแรงแผ่นดินไหวและแรงลมเช่นเดียวกัน สำหรับกรณีการเกิดเพลิงไหม้นั้นบ้านที่สร้างด้วยระบบผนังรับน้ำหนักจะมีข้อดีกว่าการก่ออิฐ ฉาบปูน ทั่วไป เนื่องจากผนังรับน้ำหนักทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กค่าความทนไฟมากกว่า 2 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนที่สามารถทนไฟได้เพียงประมาณ 1 ชั่วโมง หากการก่อสร้างด้วยระบบผนังรับแรงยังมีคุณสมบัติเป็นกำแพงกันไฟได้ด้วย เช่น กรณีที่เป็นตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ ก็สารถเป็นกำแพงกันไฟได้ทุกห้องหรือทุกหน่วย ซึ่งหากเป็นผนังอิฐก่อโดยทั่วไปจะต้องก่ออิฐเต็มแผ่น ทำให้ไม่ประหยัดอีกด้วย
เมื่อเราหันมามองถึงความมั่นคงแข็งแรง ของตัวอาคารหรือบ้านที่สร้างด้วยระบบพีคาสท์ ในกรณีที่เกิดเหตุภัยภัยทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ไฟไหม หรือมีพายุพัดแรง เป็นต้น นั้น บ้านที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์โดยเฉพาะระบบก่อสร้างแบบผนังรับน้ำหนักนั้นจะสามารถรับแรงหรือมีความมั่นคงแข็งแรงมากกว่าระบบเดิมมาก เนื่องจากระบบผนังรับน้ำหนักมีความสามารถในการรับแรงสั้นสะเทือนหรือแรงโยกของแผ่นดินไหวหรือลมได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาคารที่มีความสูงมากหรือตึกสูงทั่วไปก็มักจะใช้ระบบผนังรับน้ำหนักสำหรับรับแรงแผ่นดินไหวและแรงลมเช่นเดียวกัน สำหรับกรณีการเกิดเพลิงไหม้นั้นบ้านที่สร้างด้วยระบบผนังรับน้ำหนักจะมีข้อดีกว่าการก่ออิฐ ฉาบปูน ทั่วไป เนื่องจากผนังรับน้ำหนักทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กค่าความทนไฟมากกว่า 2 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนที่สามารถทนไฟได้เพียงประมาณ 1 ชั่วโมง หากการก่อสร้างด้วยระบบผนังรับแรงยังมีคุณสมบัติเป็นกำแพงกันไฟได้ด้วย เช่น กรณีที่เป็นตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ ก็สารถเป็นกำแพงกันไฟได้ทุกห้องหรือทุกหน่วย ซึ่งหากเป็นผนังอิฐก่อโดยทั่วไปจะต้องก่ออิฐเต็มแผ่น ทำให้ไม่ประหยัดอีกด้วย
การดูแล บำรุงรักษา บ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast นั้นสะดวก ละง่ายต่อการดูแลกว่าบ้านที่ก่ออิฐ ฉาบปูนโดยทั่วไปมาก เนื่องจากไม่ต้องไปพะวงเรื่องการแตกร้าว ตามมุมวงกบ หรือการหลุดร่อนของปูนฉาบเพราะผนังเป็นคอนกรีตมีความยืดหยุ่นหรือการขยายตัวน้อยมากเมื่อเทียบกับปูนฉาบ อีกทั้งเมื่อมีฝนตกผนังคอนกรีตยังสามรถป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดีกว่ามากกว่าอิฐซึ่งมีความพรุนสูงทำให้เมื่อมีน้ำหรือฝนตก อิฐจะดูดซึมน้ำหรือความชื้นได้มาก และจะส่งผลทำให้สีที่ทาผนังเกิดเชื้อราทำให้สีหลุดร่อนได้ง่ายอีกด้วย
ทั้งนี้การใช้งานบ้านที่สร้างด้วยระบบ precast นั้นมีข้อควรระมัดระวังบางส่วน เช่น การทุบเพื่อเปิดช่องหน้าต่าง ประตู หรือการรื้อผนัง รวมถึงการต่อเติมโครงสร้าง ต้องดำเนินการโดยคำแนะนำของวิศวกรผู้ออกแบบ จึงจะมีความปลอดภัย ไม่ควรดำเนินการโดยพละการ เนื่องจากจะส่งผลเสียหายกับโครงสร้างอาคารโดยรวม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการใช้งานโครงสร้างระบบ precast นอกจากนั้นก็ดูแลเหมือนบ้านทั่วไป
บ้านพร้อมอยู่ Home/ฉ.ธันวาคม 2551
Technology /โดย....Mr.T
บ้านพร้อมอยู่ Home/ฉ.ธันวาคม 2551
Technology /โดย....Mr.T