วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อเสียของบ้านพรีคาสท์

เป็นปกติทั่วไปของโลกนะครับ มีดีก็มีเสีย ครับ บ้านที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์หรือชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปก็เช่นเดียวกันครับ ด้วยที่ระบบพรีคาสท์เป็นระบบที่มีการออกแบบชิ้นส่วน ผลิต และควบคุมคุณภาพที่ดี การใช้วัสดุในขบวนการผลิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ การนำมาติดตั้งหรือประกอบเป็นโครงสร้างบ้านก็มีการควบคุมมาตรฐานที่ดีภายใต้เงื่อนไข ข้อกำหนดหรือคำแนะนำของผู้ออกแบบระบบพรีคาสท์เพื่อให้ได้โครงสร้างที่มีความแข็งแรงตามที่ออกแบบไว้ อย่างไรก็ตามในเรื่องของการเลือกใช้วัสดุในการทำชิ้นส่วนพรีคาสท์นั้น ก็ทำมาจากคอนกรีตเสริมเหล็กให้มีความแข็งแรงตามการรับกำลังของโครงสร้าง แน่นอนครับเรื่องความแข็งแรงของชิ้นส่วนคงไม่ค่อยมีปัญหาอะไรมากนักการรับน้ำหนัก เนื่องจากคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นมีการรับน้ำหนักได้ดีมาก อีกทั้งคุณสมบัติของคอนกรีตเองมีความทึบน้ำสูง ความทึบน้ำก็หมายถึงน้ำหรือความชื้นไม่สามารถไหลซึมผ่านได้ง่าย (เราเห็นได้จากการที่เขื่อนหรือถังเก็บน้ำทั่วไป ทำด้วยคอนกรีต สามารถเก็บกักน้ำได้) คุณสมบัติอีกประการหนึ่งของคอนกรีตคือสามารถต้านทานไฟหรือมีความทนไฟได้ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง และไม่ติดไฟด้วย ซึ่งในการออกแบบได้กำหนดให้ผนังคอนกรีตที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร เป็นผนังกันไฟ สังเกตจากบันไดหนีไฟตามอาคารต่างๆ จะทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก จากคุณสมบัติที่มีความทึบสูง (มีความแน่นตัวมาก) ทำให้คอนกรีตมีเก็บเสียงได้ดีอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับผนังก่ออิฐฉาบปูนโดยทั่วไปแล้วระบบพรีคาสท์มีความทึบน้ำมากกว่าหลายเท่าและเก็บความชื้นไม่มากนักทำให้ไม่ก่อให้เกิดเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของสีหลุดร่อนตามมา แน่นอนครับความแน่นตัวหรือความหนาแน่นที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการก่ออิฐฉาบปูนผนังอาคารพรีคาสท์จึงมีการนำความร้อนได้มากกว่าทำให้อากาศในห้องที่ทำด้วยผนังพรีคาสท์จะมีอุณหภูมิสูงกว่าเมื่อมีแดดส่องผนังเป็นข้อเสียประการหนึ่ง

ต่อมาเมื่อนำชิ้นส่วนคอนกรีตมาต่อเชื่อมเข้ากันตามแบบที่กำหนด ตรงนี้แหละครับเป็นส่วนสำคัญของระบบพรีคาสท์ โดยทั่วไปในการออกแบบโครงสร้างระบบพรีคาสท์จะต้องคำนึงถึงคือ จุดต่อ (Joint) การออกแบบรอยต่อ (Connection Joint) ให้มีความแข็งแรงให้สามารถถ่ายแรงต่างๆ เช่น แรงดึง แรงเฉือน แรงอัด ได้ ต่อมารอยต่อดังกล่าวต้องมีความสวยงามสามารถป้องกันน้ำหรือความชื้น (จากน้ำฝน) เนื่องจากบ้านเราตั้งอยู่ในสาภาวะร้อน ชื้น มีสภาพที่ร้อน และมีฝนตก หากรอยต่อดังกล่าวไม่ได้คำนึงถึงก็จะทำให้เกิดการรั่ว ซึมของน้ำ หรือความชื้นเกิดขึ้น ส่งผลกับผนัง พื้น ฝ้า หรืออื่นๆ ในบ้าน หรืออาคาร ได้ ดังนั้นรอยต่อจึงเป็นจุดอ่อนของระบบพรีคาสท์อีกจุดหนึ่ง ที่จะต้องมีการพิจารณาและหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ ทำไมต้องมีการตรวจสอบอยู่เสมอ ? เนื่องจากรอยต่อพรีคาสท์หากออกแบบให้ใช้วัสดุอุดรอยต่อประเภทซิลิโคน (เหมือนขอบหน้าต่าง ประตู ที่ทำจากอลูมิเนียม) ก็มักจะมีการเสื่อมสภาพเนื่องจากอายุการใช้งานและความทนทางกับ UV จากแสงแดด และต้องมีการเปลี่ยนใหม่ (อายุการใช้งาน 5-10 ปี) ขึ้นอยู่กับคุณภาพและประเภทซิลิโคนที่ใช้ ส่วนต่อมาหากใช้การประสานรอยต่อด้วยมอร์ต้า (ปูนทรายผสมน้ำ) หรือ วัสดุประเภทนอนชิ้งเกรา (Non-shrink grout) หากใช้กรณีปูนทรายอุดรอยต่อจะมีปัญหาเรื่องการแตกร้าวตามรอยต่อไม่ส่งผลกับความแข็งแรงของโครงสร้างนะครับเป็นเพียงสาเหตุจากการหดตัว (shrinkage) ของปูนทรายหรือมอต้าร์กับชิ้นส่วนพรีคาสท์ที่เป็นคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตมีการหดตัวน้อยกว่าปูนทรายหรือมอต้าร์มากครับ ส่วนกรณีที่ใช้นอนชิ้งเกรานั้นก็มีพบปัญหาน้อยกว่าการใช้ปูนทรายทั่วไป และเป็นที่นิยมใช้มากเนื่องจากนอนชิ้งเกรานั้นเป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของวัสดุที่มีไม่มีการหดตัวอีกทั้งบางยี่ห้อก็มีการขยายเมื่อเทในรอยต่อทำให้ช่องว่างน้อยลงโอกาสที่จะมีการร้าวหรือการซึมผ่านของน้ำน้อยมาก ส่วนความแข็งแรงหรือกำลังของนอนชิ้งเกรานั้นก็มีกำลังไม่น้อยกว่าคอนกรีต

เอาละครับประเด็นสุดท้ายของระบบพรีคาสท์ที่เป็นข้อเสียที่ถูกถามมากที่สุดสำหรับ บรรดานักวางแผนทั้งหลายคือ จะทุบ รื้อ ต่อเติม เพิ่มขนาด ได้หรือไม่? ครับส่วนนี้ต้องมาพิจารณากันก่อนนะครับ เรื่องแรกที่จะเจาะ ทุบรื้อ ต้องพิจารณาถึงความแข็งแรงของโครงสร้างเป็นอันดับแรก เนื่องจากการออกแบบโครงสร้างของอาคารหรือบ้านนั้นมีความแตกต่างกัน เช่น โครงสร้างระบบเสาคาน ระบบผนังรับน้ำหนัก เป็นต้น ระบบผนังรับน้ำหนักนั้นการทุบรื้อ เจาะช่อง สกัด อะไรต่างๆเหล่านี้ มีผลต่อความแข็งแรงและการถ่ายแรงของโครงสร้างโดยตรง โดยทั่วไปเจ้าของโครงการหรือผู้ออกแบบจะแจ้งให้ผู้อยู่อาศัยหรือเจ้าของบ้านหรืออาคารรับทราบเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ทราบและต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย นั่นคือข้อเสียของระบบพรีคาสท์สำหรับนักวางแผนทุบ เจาะ รื้อ ครับ ส่วนโครงสร้างระบบเสาคานก็ เป็นที่รู้อยู่แล้วละครับว่าอย่าทุบโครงสร้างหลักครับส่วนผนังก็มักเป็นผนังก่ออิฐโดยทั่วไปอยู่แล้วครับ ข้อด้อยจุดนี้ก็ลดลงไปนิดหนึ่งครับ
สรุปเรื่องความร้อนที่มากกว่าผนังก่ออิฐ การต่อเติม ทุบ รื้อ ที่มีขอบเขตหรือข้อห้าม และรอยต่อที่มีโอกาสการซึมของน้ำหรือความชื้น ครับ เมือพิจารณาเปรียบเทียบกับ คุณภาพชิ้นงาน คุณภาพวัสดุ การไม่เกิดรอยแตกร้าวลายงาของผนังก่ออิฐ การใช้เวลาในการก่อสร้าง เป็นต้น ระบบพรีคาสท์ก็อาจจะดีมาก หรือด้อยกว่า นั้น ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าจุดยอมรับมากน้อยอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ ระบบพรีคาสท์มาแรงครับ
Mr.T

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

รอยต่อ บ้านพรีคาสท์

บ้านราคาถูก ในตลาดอสังหาฯ

สร้างบ้านระบบโมดูล่า ดีจริงหรือ?

ระบบโมดูล่า

ตอนนี้มาดูความสัมพันธ์ของพิกัดโมดูล่าว่ามีความสัมพันธ์กับส่วนต่างๆ อย่างไรบ้าง เอาพอสังเขปตามแผนผังนะครับ อธิบายสั้นๆว่า พิกัดโมดูล่าเป็นการกำหนดขนาดในมิติกว้าง ยาว และสูง ในส่วนอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้าง ได้ใช้ในการกำหนดขนาดวัสดุ ในส่วนของการออกแบบก็นำไปออกแบบขนาดของอาคาร โครงสร้าง การวางผังอาคาร เมื่อทั้งสองส่วนได้ดำเนินผ่านขบวนการแล้วเสร็จ จนถึงขบวนการก่อสร้างทำให้มีการควบคุมคุณภาพงานได้มี วัสดุไม่มีเศษเหลือ ติดตั้งได้รวดเร็ว ประหยัดเวลาและต้นทุน



วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระบบประสานทางพิกัดหรือระบบโมดูล่า (Modular Coordination)

ห้วงเวลาไม่นานมานี้เราคงได้ยินคำว่า โมดูล่า (Modular) หรือ บ้านโมดูล่า หรือ ก่อสร้างบ้านระบบโมดูล่า ออกมาบ่อยๆ โดยเฉพาะงานด้านอุตสาหกรรมการก่อสร้างและจากผู้ผลิตวัสดุเกี่ยวกับการก่อสร้าง และเป็นกระแสที่คาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ระบบดังกล่าวจะมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ก่อนอื่นคงว่าว่ากันถึงที่มาที่ไปของ ระบบประสานทางพิกัดหรือระบบโมดูล่า ซึ่งต่อไปจะขอเรียกว่า ระบบโมดูล่า

ระบบโมดูล่าคืออะไร?

ระบบโมดูล่า คือระบบมิติหรือขนาด (Dimentional system) เป็นระบบที่มีการบอกขนาดจากจุดอ้างอิ้งหรือพิดัดอ้างอิงทั้งสามมิติ คือ มิติด้านความสูง มิติด้านความกว้าง มิคิด้านความยาว ตามแนวแกนที่ใช้อ้างอิง หากนึกไม่ออกก็นึกถึงแกน x, y และ Z ในเรขาคณิตนั่นเอง จากแนวคิดนี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมคุณภาพ (Quality control) และการเพิ่มผลผลิต (Increase of productivity) สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต เช่นเดียวกันกับการก่อสร้างได้มีการนำมาใช้ในวางแผนงาน การออกแบบอาคาร การวางแผนการก่อสร้าง การผลิตวัสดุในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่จะนำมาใช้ในการประกอบขึ้นเป็นอาคาร เพื่อไม่ให้มีการตัดเศษวัสดุหรือผลิตภัณฑ์เมื่อนำมาประกอบในขณะก่อสร้างทำให้ลดการสูญเสียวัสดุ แรงงาน ต้นทุน ตั้งแต่ขบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุ ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ลดขั้นตอนการทำงาน ใช้เวลาในการประกอบติดตั้งในสถานที่ก่อสร้างน้อย ลดการสูญเสียหรือสูญเปล่าของวัสดุ ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพของวัสดุ ฝีมือ คุณภาพงาน และระยะเวลาการก่อสร้าง และเมื่อพิจารณาถึงองค์รวมแล้วจะทำให้เกิดความประหยัด สามารถลดต้นทุนการก่อสร้างโครงการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการที่มีหน่วยการก่อสร้างปริมาณมากๆ หรือโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้นระบบโมดูล่าจึงถูกกำหนดเป็นมาตรฐานขึ้นเพื่อหาขนาดที่สัมพันธ์กันระหว่างส่วนประกอบของอาคารกับขนาดของอาคาร

ความเป็นมาของระบบโมดูล่านั้น ได้เริ่มคิดค้นมาใช้ประมาณ ศตวรรษที่ 15- 16 เพื่อใช้ในการออกแบบ การวางแผนการก่อสร้าง เพื่อก่อสร้างอาคารชิ้นส่วนสำเร็จรูป ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ได้มีการพัฒนามา ปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง และได้กำหนดเป็นมาตรฐานที่ละเอียดขึ้นเรียกว่า พิกัดมูลฐาน (Basic Modula) คือ 1M = 100 มิลลิเมตร เมือ M คือ Modular นั่นเอง ในปัจจุบันระบบพิกัดมูลฐานมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในประเทศที่มีมาตรฐานการก่อสร้างที่ดี รวมถึงญี่ปุ่นก็มีการนำไปใช้มาเป็นเวลานานมากเช่นเดี่ยวกัน

ในบ้านเราเองนั้นมีการพยายามนำระบบโมดูล่ามาใช้เพื่อเป็นมาตรฐานในการผลิตวัสดุชิ้นส่วนสำเร็จรูปต่างๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เช่น ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ประตู หน้าต่าง กระเบื้องปูพื้น-ผนัง กระเบื้องมุงหลังคา ฝ้าเพดานสำเร็จรูป ผนังสำเร็จรูป เป็นต้น อย่างไรก็ตามการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปในบ้านเรา มีขนาดที่แตกต่างกัน ผู้ออกแบบดำเนินการออกแบบตามความเคยชิน ไม่ได้คำนึงถึงระบบโมดูล่า อีกทั้งระบบดังกล่าวไม่ได้นำไปถูกใช้ให้ความรู้เกี่ยวกับผู้เกี่ยวข้องอย่างแพร่หลาย และทราบถึงข้อดีของระบบดังกล่าว จึงดูเป็นเรื่องใหม่ในวงการก่อสร้างในบ้านเรา สิ่งที่เราเห็นกันทั่วไปคือชิ้นส่วนสำเร็จรูปต่างๆ ที่มีการผลิตสู่ตลาดนั้นโดนตัดเศษ ตัดทิ้ง อยู่ทั่วไปจนกลายเป็นเรื่องปกติของงานก่อสร้างทั่วไปในบ้านเรานั่นเองครับ มาถึงตอนนี้เราคงพอทราบแล้วว่า ระบบโมดูล่านั้นมีประโยชน์กับการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป หรือระบบพรีคาสท์คอนกรีต เป็นอย่างมาก ตอนหน้าค่อยมาว่ากันถึงระบบโมดูล่าหรือระบบประสานทางพิกัดการก่อสร้าง ก การผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปและการก่อสร้างบ้านระบบโมดูล่ากันนะครับ

วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์ด้วยระบบพรีคาสท์

ระบบพรีคาสท์เป็นระบบการก่อสร้างที่มักนิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารพักอาศัยมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารพักอาศัยขนาดปานกลาง เช่น ทาวน์เฮ้าส์ หรือ ทาวน์โฮม เป็นต้น เนื่องจากมีพื้นที่ใช้สอยหรือที่ดินน้อยกว่าบ้านเดี่ยวเล็กน้อย มีจำนวนชั้นสองถึงสี่ชั้น หากอยู่ในทำเลชานเมืองก็จะสามารถ ซื้อขายได้ในราคาที่ไม่สูงนักและหากตั้งอยู่บริเวณเมื่องชั้นในก็มักมีราคาเท่ากับบ้านเดี่ยวบริเวณชานเมือง ในปัจจุบันมักเป็นที่นิยมและมีการซื้อขายได้ง่ายอีกด้วย
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นและสภาพความผันผวนในต้นทุนการก่อสร้าง ทำให้ผู้ประกอบการด้านการพัฒนาที่ดินส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้ระบบพรีคาสท์หรือระบบก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปมากขึ้น เนื่องจากแบบก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์มีจำนวนหน่วยที่ต่อเนื่องกันในแต่ละหลังทำให้เหมาะกับระบบพรีคาสท์ สามารถดำเนินการก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว เช่นกรณีของทาวน์เฮ้าส์ สูง 2-3 ชั้น จำนวน 12 หน่วย สามารถดำเนินก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือน และหากรวมงานตกแต่ง ทาสี ปูกระเบื้อง และอื่นๆ อีกประมาณ 1 เดือน ก็แล้วเสร็จรวมเวลาประมาณ 2 เดือน หากเปรียบเทียบกับการก่อสร้างด้วยระบบเดิม (ก่อสอิฐ ฉาบปูน) ที่จะต้องใช้เวลาประมาณ 6– 7 เดือน ซึ่งเวลาดังกล่าวระบบพรีคาสท์สามารถก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์ได้มากกว่า 100 หน่วย ยิ่งจะทำให้งานแล้วเสร็จโดยเร็ว ผู้ประกอบการหรือโครงการสามารถกำหนดการส่งมอบทาวน์เฮ้าให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอนตรงเวลา อีกทั้งยังสามารถกำหนดเวลาการปิดการขายปละปิดโครงการได้อย่างแน่นอนอีกด้วย

เมื่อพิจารณาในส่วนของ ต้นทุนการก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์ด้วยระบบพรีคาสท์เปรียบเทียบกับระบบการก่อสร้างระบบเสา คาน ก่ออิฐ ฉาบปูน แล้วพบว่า ต้นทุนด้านการก่อสร้างโดยรวมต่ำกว่าระบบเดิมระหว่างร้อยละ 10 – 25 เนื่องจากระบบโครงสร้างของทาวน์เฮ้านั่นเอง ทั้งนี้การกำหนดราคาขายจึงทำได้ง่ายเอาจจะมีความแตกต่างเพียงราคาต้นทุนจากราคาที่ดินแต่ละโครงการเท่านั้น สำหรับการกำหนดราคาขายหรือราคาโปรโมชั่นก็สามารทำได้ง่ายเนื่องจากมีต้นทุนต่ำกว่าและระยะเวลาการส่งมอบบ้านให้ลูกค้าสั้นลง ผู้ประกอบการหรือโครงการสามารถกำหนดทำสัญญาและวันส่งมอบหรือโอนบ้านได้แน่นอนกว่า ทำให้ปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ ลดลง โครงการสามารถกำหนดทิศทางหรือความเสี่ยง จากการดำเนินการโครงการได้แม่นยำขึ้น ยอดรับรู้รายได้ก็สามารถคาดการได้สั้นลง แม่นยำมากขึ้น และหากโครงการมีขนาดใหญ่ จำนวนหน่วยต่อโครงการมาก ก็สามารถบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น บุคลากรในการดำเนินการน้อยลง ส่วนโครงการขนาดเล็กมีจำนวนหน่วยไม่มากนัก ก็สามารถดำเนินการง่ายมากขึ้นสามารถดำเนินการแข่งขันด้านราคาและเจาะกลุ่มลูกค้าให้ตรงกับตลาดหรือความต้องการได้มากและเร็วขึ้น และที่สำคัญอีกประการหนึ่งนั่นคือความต้องการทาวน์เฮ้าส์มีมากขึ้นในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ดังนั้นหากการดำเนินการก่อสร้างที่รวดเร็ว พื้นที่ใช้สอยใกล้เคียงกับบ้านเดี่ยว ราคาต่ำกว่า ที่ตั้งโครงการอยู่ในทำเลที่เดินทางสะดวกระดับหนึ่ง ลูกค้าจะติดสินใจง่าย เนื่องจากโดยส่วนใหญ่ลูกค้าจะเลือกซื้อทาวน์เฮ้าส์เป็นบ้านหลังแรกและในอนาคตก็มักจะขยับขยายเป็นบ้านเดี่ยว ส่วนทาสน์เฮ้าเดิมหากซื้อราคาไม่สูงนักก็จะทำให้ขายภายหลังได้ง่ายด้วย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้ประกอบการด้านพัฒนาที่ดิน เลือกใช้ระบบการก่อสร้างแบบพรีคาสท์

ส่วนปัญหาด้านการตกแต่ง หรือต่อเติมของลูกค้าภายหลังการส่งมอบบ้านแล้วนั้นมีน้อยกว่าบ้านเดี่ยวมากเนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านข้าง ลูกค้ามักจะดำเนินการต่อเติมเพียงด้านหลังซึ่งส่วนใหญ่มักจะดำเนินการต่อเติมเป็นห้องครัวหรือซักล้าง ส่วนด้านหน้าบ้านก็มักจะต่อเติมในส่วนที่จอดรถ หลังคาโรงจอดรถ เป็นต้น ซึ่งการต่อเติมดังกล่าวมีผลกระทบกับระบบโครงสร้างน้อยมาก

การตกแต่งภายในบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์

ฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงการตรวจสอบบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์ก่อนที่จะมีการรับมอบบ้านจากผู้ก่อสร้างหรือจากโครงการ โดยได้แบ่งจุดที่ควรพิจารณาออกเป็นหลัก 3 ส่วน คือ รอยต่อของโครงสร้างผนัง รอยแตกร้าวของผนัง และการรั่วซึมของน้ำผ่านรอยต่อผนัง ซึ่งที่กล่าวมานั้นหากดำเนินการตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อยก็สามารถรับมอบบ้านได้ แต่หากมีข้อบกพร่องก็ให้ดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยก่อนรับมอบ
หลังจากที่ได้ทำการรับมอบบ้าน และจะเข้าอยู่อาศัยในบ้าน การดำเนินการต่อมาก็คงเป็นเรื่องของการตกแต่งภายในบ้าน เช่น การติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ ตู้ เตียง ชั้นวางของ ห้องครัว อื่นๆ เป็นต้น โดยส่วนมากแล้วเจ้าของบ้านยังไม่คุ้นเคยหรือทราบถึงรายละเอียดของบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์ มักจะมีความกังวลถึงความสามารถในการเจาะ ฝังพุกเพื่อติดตั้งตู้ ชั้นวางของ แขวนรูปภาพได้หรือไม่ เนื่องจากส่วนใหญ่มักมีข้อกำหนดว่าห้ามรบกวนหรือกระทำการอันไดให้ผนังรับน้ำหนักเสียหายหรือสูญเสียกำลัง กาตกแต่งภายในบ้านดังที่กล่าวแล้วนั้นสามารถดำเนินการได้ตามปกติเหมือนบ้านทั่วไปเ อาจมีข้อแตกต่างเพียงอุปกรณ์ในการเจาะผนังจะต้องมีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าหากเปรียบเทียบกับผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไปผนังบ้านระบบพรีคาสท์มีความแข็งแรงมากกว่า 2 ถึง 3 เท่าของผนังก่ออิฐ


ข้อดีของการตกแต่งภายในบ้านระบบพรีคาสท์อีกประการหนึ่ง คือสามารถดำเนินการใช้พื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์หรือเฟอร์นิเจอร์ได้ตลอดแนวผนังเนื่องจากไม่มีเสาบ้านตามแนวผนังและมุมห้อง ดังนั้นผู้ออกแบบตกแต่งภายในก็สามารถเริ่มงานออกแบบได้เมื่อได้รับแบบก่อสร้าง ก็ไม่ต้องรองานก่อสร้างแล้วเสร็จเพื่อวัดขนาดที่แน่นอนในหน่วยงานเพื่อตรวจความถูกต้องซึ่งจะทำให้การดำเนินงานตกแต่งภายในล่าช้าออกไปอีก และอีกประการหนึ่งคือมัณฑนากรหรือสถาปนิกตกแต่งภายในไม่ต้องกังวลถึงความสามารถในการรับน้ำหนักของผนังอาคารว่าจะมีข้อจำกัดในการรับน้ำหนัก ความเรียบของผนัง การได้ดิ่งฉากของผนัง ทำไห้การออกแบบตกแต่งภายใน มีข้อจำกัดน้อยลง สามารถดำเนินการออกแบบสนองตอบการใช้งานได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการใช้พื้นที่ของตัวบ้านได้มากสุด


สำหรับกรณีในการตกแต่งบ้านที่อาจมีการเจาะช่องผนังเพื่อติดตั้งงานอื่นๆ เช่น ระบบไฟฟ้า หรือประปา เป็นต้นนั้น ก็สามารถทำได้แต่ไม่ควรมีขนาดเกินกว่า 20x20 เซนติเมตร โดยตำแหน่งการเจาะจะต้องมีระยะห่างจากจุดต่อของผนังไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ทั้งนี้ควรแจ้งหรือปรึกษาวิศวกรผู้ออกแบบเพื่อขอคำแนะนำก่อนการดำเนินการทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยในโครงสร้างบ้าน
ตอนนี้คงสบายใจกันได้แล้วนะครับว่าเราสามารถดำเนินการอกกแบบตกแต่งบ้าน เพื่อให้สนองต่อการใช้งานของเราได้อย่างมีความสุข ด้วยความสบายใจ และได้รับประโยชน์สูงสุดของบ้านที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์

บ้านพร้อมอยู่/ฉ.เมษายน 2552

Home -Technology /โดย....Mr.T

การตรวจสอบ รับมอบบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์



เราจะมาว่าถึงเรื่องบ้านที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์ที่ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจะมีแนวทางหรือขั้นตอนใดบ้างในการตรวจสอบงานก่อสร้างก่อนการรับมอบบ้านจากผู้ดำเนินการก่อสร้างหรือจากโครงการก่อสร้าง โดยเป็นการตรวจรับมอบงานแบบง่ายๆ และสามารถตรวจสอบได้ทุกคน โดยใช้วิธีตรวจสอบด้วยสายตา และอุปกรณ์ง่ายๆ ที่มีอยู่รอบตัวครับ การครวจสอบแบ่งออกเตามระบบของบ้าน โดยพิจารณาจุดที่ต้องตรวจสสอบเป็นพิเศษ ดังนี้
1. การตรวจสอบโครงสร้าง โดยทั่วไปการสร้างบ้านด้วยระบบพรีคาสท์จะเป็นแบบผนังรับน้ำหนัก ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้วผนังบ้านเองจะมีความแข็งแรงอยู่แล้ว เราคงตรวจสอบรอยแตกร้าวของผนังด้วยการสังเกตุหรือการกวาดสายตาไปทั่วบริเวณผนังนั้นๆ ว่ามีเส้นหรือแนวการแตกร้าวหรือไม่ทั้งนี้หากพบมีรอยแตกตามแนวนอนหรือแนวตั้งที่มีขนาดประมาณ เส้นผมเป็นแนวยาวมากกว่า 0.5 เมตร และหากทำการเคาะด้วยเหล็กหากมีเสียงแตกต่างจากการเคาะผนัง ต้องรีบแจ้งให้ทำการซ่อมแซมโดยเร็ว
2. การตรวจสอบรอยต่อของผนัง ตามปกติแล้วการก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์แบบผนังรับแรง วิศวกรจะออกแบบให้มีจุดเชื่อมต่อของผนังออกเป็น 2 ส่วน คือ รอยต่อผนังตามแนวตั้ง และรอยต่อผนังตามแนวนอน สำหรับกรณีรอยต่อผนังตามแนวตั้งเราจะพบบริเวณมุมของตัวบ้าน แนวผนังที่ชนกัน และแนวกั้นห้อง เป็นต้น และจะพบทุกชั้นของบ้าน การตรวจสอบนั้นต้องสังเกตุรอยแตกร้าวทั้งด้านนอกและในตัวบ้าน หากพบว่ามีการแตกร้าวเป็นแนวตามแนวดิ่ง ให้ตั้งสมมุติฐานว่าเป็นการแตกร้าวเนื่องจากการประกอบรอยต่อระหว่างแผ่นผนังไม่ดี หากปล่อยไว้จะทำให้น้ำรั่วซึมได้ง่าย และจะส่งผลเสียต่อพื้น ภายในตัวบ้าน ส่วนน้ำที่ซึมผ่านรอยต่อจะส่งผลให้สีหลุดร่อนตามมาด้วย ซึ่งถ้าตรวจพบให้แจ้งดำเนินการซ่อมทันที
สำหรับรอยต่อตามแนวนอนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นรอยต่อของแผ่นผนังชั้นบนและชั้นล่างต่อเชื่อมกัน ยาวโดยรอบตัวบ้าน ส่วนใหญ่การก่อสร้างมักจะติดบัวปิดทับบริเวณดังกล่าวไว้เพื่อความสวยงาม การตรวจสอบในส่วนนี้หากบ้านที่ไม่มีบัวบิดทับสามารถตรวจสอบได้ง่ายว่ามีรอยแตกร้าวตามแนวนอนขนานตัวบ้านหรือไม่ ตำแหน่งที่เกิดจะใกล้เคียงกับระบพื้นหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ซึ่งหากปล่อยไว้ก็จะทำให้น้ำไหลซึมผ่านเข้าไปที่ฝ้าเพดานชั้นล่างได้ ส่วนกรณีที่มีบัวบิดทับให้ตรวจสอบด้านบนของบัวว่ารอยต่อระหว่งบัวกับผนังนั้นมีรอยแตกร้าวหรือไม่หากมี จะส่งผลให้น้ำซึมผ่านและไหลเข้าไปรอยต่อที่บัวบิดทับได้เช่นกัน ดังนั้นต้องแจ้งให้มีการซ่อมแซมรอยร้าวนั้นๆก่อน


3. การตรวจสอบการรั่วซึมบริเวณห้องน้ำ โดยทั่วไปพื้นบริเวณห้องน้ำมักจะเกิดการรั่วซึมของน้ำซึ่งเกิดมาจากสาเหตุหลักๆ 2 ส่วน คือ สาเหตุแรก พื้นห้องน้ำรั่วเนื่องจากมีโพรง คุณภาพคอนกรีตไม่ดี น้ำซึมผ่านรอยต่อกระเบื้องพื้นไหลตามโพรงในพื้นลงสู่เพดานชั้นล่าง มักพบตามแนวขอบผนังห้องน้ำ เป็นต้น หากมีการใช้งานหรือทดสอบด้วยการขังน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน แล้วสังเกตคราบหรือหยดน้ำบริเวณฝ้าเพดานของชั้นล่างห้องน้ำหากพบแสดงว่ามีการรั่วซึมต้องแจ้งซ่อมโดยด่วน สาเหตุที่สอง เป็นการรั่วซึมบริเวณรอบแนวท่อน้ำกับพื้น เนื่องจากการติดตั้งระบบท่อไม่ดีพอ ต้องดำเนินการซ่อมโดยใช้วัสดุกันซึมโดยรอบแนวท่อใหม่
ทั้งหมดข้างต้นนั้นเป็นการตรวจสอบ ที่จำเป็นต้องพิจารณาเป็นพิเศษสำหรับการตรวจสอบก่อนการรับมอบบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์ ฉบับหน้ามาคุยกันต่อเกี่ยวกับการตรวจสอบบ้านขณะที่เข้าอยู่อาศัยแล้ว ว่าต้องดูแลหรือีข้อควรตรวจสอบบ้านอย่างไรบ้าง สวัสดีครับ


บ้านพร้อมอยู่/ฉ.มีนาคม 2552
Home -Technology /โดย....Mr.T

การต่อเติม-ตกแต่งบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์

สวัสดีครับ ฉบับนี้เรามาว่ากันเกี่ยวกับ คำถามยอดฮิต และเป็นประเด็นยอดนิยมสำหรับเจ้าของบ้าน ผู้ที่กำลังจะซื้อบ้านหรือผู้ที่กำลังสร้างบ้าน นั่นคือ “การต่อเติม ตกแต่งบ้าน” ภายหลังจากที่ได้รับมอบบ้านหรือหลังจากที่อาศัยได้ระยะหนึ่ง
การต่อเติมบ้านโดยส่วนใหญ่ระเป็นการต่อเติมหรือตกแต่งเพิ่มจากแบบมาตรฐานที่ทางโครงการออกแบบและก่อสร้างไว้ ซึ่งแบบมาตรฐานจะมีความเหมะสมกับการใช้งานสำหรับผู้อยู่อาศัยที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นโดยทั่วไปเอยู่แล้ว ในการออกแบบวิศวกรผู้ออกแบบได้พิจารณาออกแบบระบบต่างๆ เช่น ระบบโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล เป็นต้น โดยได้กำหนดให้มีความเหมะสมกับการใช้งานและระบุไว้ในแบบก่อสร้างมาตรฐานนั้น จากนั้นเจ้าของบ้านก็ดำเนินการปรับปรุงขยายหรือตกแต่งภายหลังให้เหมะสมกับการใช้งานของตนเอง ซึ่งจะมากน้อยแตกต่างกันตามความต้องการและงบประมาณ
จากข้อมูลการออกแบบมาตรฐานที่ได้กล่าวถึงไปแล้วนั้น ต่อมาเรามาพูดถึงการต่อเติมบ้านที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์กันบ้างว่าสามารถดำเนินการต่อเติม หรือการขยายตัวบ้านจากแบบมาตรฐานเดิมที่สร้างไว้ได้ ทั้งนี้ คงต้องแยกวิธีการต่อเติมออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
- ระบบโครงสร้างอาคาร โครงสร้างที่ทำการต่อเติมหรือขยายใหม่ต้องแยกออกจากระบบโครงสร้างเดิม (เสาเข็ม ฐานราก ผนัง คาน พื้น) และหากเป็นบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบผนังรับน้ำหนัก (Bearing wall systems) แล้วต้องไม่ทำการต่อเติมโครงสร้างใหม่กับผนังเดิมเป็นอันขาด เนื่องจากจะทำให้ระบบการรับแรงของโครงสร้างผนังเพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป ยิ่งหากมีการรับน้ำหนักมากหรือผิดไปจากที่วิศวกรผู้ออกแบบได้คำนวณไว้มาก ก็อาจทำให้โครงสร้างได้รับความเสียหายทำให้เกิดการวิบัติหรือพังทลายของโครงสร้างได้ กรณีที่มีการเพิ่มช่องเปิด เช่น การทุบผนัง การเพิ่มช่องประตู-หน้าต่าง ขยายช่องประตู-หน้าต่าง เป็นต้น สามารถทำได้บ้างเป็นบางกรณี ทั้งนี้ต้องสอบถามวิศวกรผู้ออกแบบเพื่อให้ความเห็นเนื่องจากมีผลกับความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างโดยตรง


- ระบบไฟฟ้า สุขาภิบาล หรือระบบอื่นๆ โดยทั่วไปโครงสร้างระบบพรีคาสท์จะดำเนินการออกแบบและติดตั้งระบบเหล่านี้โดยการฝังท่อในผนังคอนกรีตตามตำแหน่ง ดังนั้น หากมีการต่อเติม หรือ ขยาย จะต้องทำการต่อเชื่อมจากระบบที่ได้ฝังไว้ซึ่งมีความยุ่งยากมาก และหากดำเนินสกัดฝังท่อเพิ่มเติมก็อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร ทั้งนี้ควรดำเนินการโดยเดินท่อนอกผนัง ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ระบบรางครอบ ที่มีวางขายในท้องตลาดทั่วไป ทำให้ดำเนินการง่าย สะดวก รวดเร็วด้วย ไม่กระทบกับโครงสร้างด้วย ทั้งนี้หากมีความจำเป็นที่จะต้องเจาะช่องเปิดผ่านผนัง เช่น การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ควรสอบถามวิศวกรผู้ออกแบบ เพื่อเลือกตำแหน่งที่มีผลกระทบกับความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างน้อยที่สุด


- การตกแต่งบ้าน หรือการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ เพิ่มเติมภายหลัง สามารถทำได้ปกติเหมือนบ้านที่ก่ออิฐฉาปปูนทั่วไป การดำเนินการเจาะเพื่อฝังพุก การยึด หรือการแขวนรูปภาพชั้นวางต่างๆ สามารถดำเนินการได้ ซึ่งผนังบ้านพรีคาสท์สามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่าและมั่นคงกว่าผนังก่ออิฐมากด้วย


สรุปได้ว่าการดำเนินการต่อเติม ขยาย หรือตกแต่งบ้านที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์นั้นสามารถดำเนินการได้ ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทั้งนี้ มีข้อควรระมัดระวังสำหรับการต่อเติมหรือตกแต่งบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์นั้น ผู้ดำเนินการต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบพรีคาสท์เป็นอย่างดี หากการดำเนินการใดๆ ที่จะมีผลทำให้โครงสร้างต้องรับแรงมากขึ้น หรือมีการทุบ เจาะ ขยายช่องเปิด หรือการดำเนินการได้ที่ทำให้โครงสร้างกระทบกระเทือน ควรปรึกษาวิศวกรผู้ออกแบบเพื่อขอคำแนะนำในการดำเนินการก่อน เพื่อความมั่นคงและความปลอดภัยในการอาศัยหรือการใช้อาคารของเจ้าของบ้านเอง
ลองวางแผนการต่อเติม ขยาย ตกแต่ง เตรียมการไว้ได้เลยนะครับ ฉบับหน้ามาต่อกันถึงเรื่องการตรวจสอบ ความเรียบร้อย ของบ้านระบบพรีคาสท์ ก่อนที่ท่านจะรับมอบบ้าน
สวัสดีครับ.
บ้านพร้อมอยู่/ฉ.กุมภาพันธ์ 2552
Home -Technology /โดย....Mr.T

ความปลอดภัย-การดูแลรักษาบ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์

หลายคนคงมีความสงสัยว่าระบบการก่อสร้างด้วยระบบสำเร็จรูปหรือระบบพรีคาสท์ ที่กำลังได้รับความนิยมในการก่อสร้างบ้าน มีความแข็งแรงเท่ากับหรือแตกต่างกับระบบการก่อสร้างแบบเสา คาน ที่หล่อในสถานที่ก่อสร้างเช่นที่เห็นดำเนินการอยู่โดยทั่วไปหรือไม่นั้น หากเราพิจารณาระบบของการก่อสร้างแล้วไม่มีความแตกต่างกันในด้านการรับน้ำหนักหรือความแข็งแรงของระบบโครงสร้าง แต่เมือพิจารณาระบบของโครงสร้างที่มีความแตกต่างกัน เช่น ระบบเสา คาน เปรียบเทียบกับระบบผนังรับน้ำหนักที่นิยมใช้ในการก่อสร้างบ้านแล้ว จะพบว่าระบบผนังรับน้ำหนักจะมีความแข็งแรงและประหยัดมากกว่าระบบเสาโครง ประมาณร้อยละ 10 ถึง 15 ทั้งนี้เนื่องจากระบบผนังรับน้ำหนักสามารถรับน้ำหนักได้ดีและเหมะสมกว่าเมื่อใช้กับ อาคารบ้านพักอาศัยทั่วไป แต่ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างอาคารโรงงานอุตสาหกรรม
เมื่อเราหันมามองถึงความมั่นคงแข็งแรง ของตัวอาคารหรือบ้านที่สร้างด้วยระบบพีคาสท์ ในกรณีที่เกิดเหตุภัยภัยทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ไฟไหม หรือมีพายุพัดแรง เป็นต้น นั้น บ้านที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์โดยเฉพาะระบบก่อสร้างแบบผนังรับน้ำหนักนั้นจะสามารถรับแรงหรือมีความมั่นคงแข็งแรงมากกว่าระบบเดิมมาก เนื่องจากระบบผนังรับน้ำหนักมีความสามารถในการรับแรงสั้นสะเทือนหรือแรงโยกของแผ่นดินไหวหรือลมได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาคารที่มีความสูงมากหรือตึกสูงทั่วไปก็มักจะใช้ระบบผนังรับน้ำหนักสำหรับรับแรงแผ่นดินไหวและแรงลมเช่นเดียวกัน สำหรับกรณีการเกิดเพลิงไหม้นั้นบ้านที่สร้างด้วยระบบผนังรับน้ำหนักจะมีข้อดีกว่าการก่ออิฐ ฉาบปูน ทั่วไป เนื่องจากผนังรับน้ำหนักทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กค่าความทนไฟมากกว่า 2 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนที่สามารถทนไฟได้เพียงประมาณ 1 ชั่วโมง หากการก่อสร้างด้วยระบบผนังรับแรงยังมีคุณสมบัติเป็นกำแพงกันไฟได้ด้วย เช่น กรณีที่เป็นตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ ก็สารถเป็นกำแพงกันไฟได้ทุกห้องหรือทุกหน่วย ซึ่งหากเป็นผนังอิฐก่อโดยทั่วไปจะต้องก่ออิฐเต็มแผ่น ทำให้ไม่ประหยัดอีกด้วย
การดูแล บำรุงรักษา บ้านที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast นั้นสะดวก ละง่ายต่อการดูแลกว่าบ้านที่ก่ออิฐ ฉาบปูนโดยทั่วไปมาก เนื่องจากไม่ต้องไปพะวงเรื่องการแตกร้าว ตามมุมวงกบ หรือการหลุดร่อนของปูนฉาบเพราะผนังเป็นคอนกรีตมีความยืดหยุ่นหรือการขยายตัวน้อยมากเมื่อเทียบกับปูนฉาบ อีกทั้งเมื่อมีฝนตกผนังคอนกรีตยังสามรถป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดีกว่ามากกว่าอิฐซึ่งมีความพรุนสูงทำให้เมื่อมีน้ำหรือฝนตก อิฐจะดูดซึมน้ำหรือความชื้นได้มาก และจะส่งผลทำให้สีที่ทาผนังเกิดเชื้อราทำให้สีหลุดร่อนได้ง่ายอีกด้วย
ทั้งนี้การใช้งานบ้านที่สร้างด้วยระบบ precast นั้นมีข้อควรระมัดระวังบางส่วน เช่น การทุบเพื่อเปิดช่องหน้าต่าง ประตู หรือการรื้อผนัง รวมถึงการต่อเติมโครงสร้าง ต้องดำเนินการโดยคำแนะนำของวิศวกรผู้ออกแบบ จึงจะมีความปลอดภัย ไม่ควรดำเนินการโดยพละการ เนื่องจากจะส่งผลเสียหายกับโครงสร้างอาคารโดยรวม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการใช้งานโครงสร้างระบบ precast นอกจากนั้นก็ดูแลเหมือนบ้านทั่วไป

บ้านพร้อมอยู่ Home/ฉ.ธันวาคม 2551
Technology /โดย....Mr.T

บ้านแบบไหน ? …ที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์

ในปัจจุบันได้มีการนำระบบพรีคาสท์ มาใช้ในการก่อสร้างมากมายหลายรูปแบบ
ยกตัวอย่างงานระบบสาธารณูปโภค สะพาน ทางยกระดับ อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน เป็นต้น
ส่วนงานด้านอาคาร ก็ คอนโดมิเนียม หอพัก ห้องเช่า อาพาร์ทเมนต์ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรือ แม้กระทั่งโรงแรม ก็มีการนำระบบพรีคาสท์มาใช้การก่อสร้าง เนื่องจากสามารถก่อสร้างได้รวดเร็ว มีคุณภาพได้ตามที่ต้องการ ในต่างประเทศก็เป็นที่นิยมใช้ในการสร้างอาคารสำนักงานที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ที่มีความโดดเด่นสวยงาม
สำหรับการก่อสร้างในบ้านเรา ระบบการก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์นั้น ก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นในการก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้าง อาคารสูง สำนักงาน บ้านพักอาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านพักอาศัย ทั้งประเภท
- บ้านเดียวชั้นเดียว บ้านเดี่ยวสองชั้น
- ทาวน์เฮ้าส์ตั้งแต่ชั้นเดียวจนถึงสี่ชั้น
- อาคารสำนักงาน
- ห้องแถวหรือตึกแถว

สำหรับระบบในการเลือกออกแบบ ในการก่อสร้างนั้น มักจะเลือกใช้ ระบบผนังรับแรง (Bearing wall system) และระบบเสาโครง (skeleton system) ซึ่งโดยส่วนใหญ่ระบบผนังแบแรงจะเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการออกแบบใช้งานมากที่สุด เนื่องจากผนังของอาคารทำหน้าที่รับแรงคล้ายกับเสาอาคารขณะเดียวกันก็ทำหน้าเป็นผนังกั้นห้องได้ด้วย ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเลือกใช้วัสดุ และยังทำให้มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น ง่ายต่อการตกแต่งภายในของอาคารด้วย
ระบบผนังรับแรงมีวิธีหรือขั้นตอนการก่อสร้างง่าย โดยเริ่มจาก การเตรียมฐานรากอาคาร ในบริเวณก่อสร้าง ต่อจากนั่นก็ นำผนังรับแรงที่ได้ทำการหล่อจากโรงงาน มาทำการติดตั้งในชั้นล่าง ติดตั้งพื้นชั้นที่ล่าง พื้นชั้นที่สอง ผนังชั้นที่สอง บันได เก็บรอยต่อของผนัง ก็เป็นอันเสร็จสิ้น

ส่วนหลังคาก็ดำเนินการเช่นเดียวกันกับการก่อสร้างระบบปกติ ขณะเดียวกันงานตกแต่งผิวพื้น ปูกระเบื้อง ประตูหน้าต่าง ก็สามารถเริ่มได้ในเวลาไล่เลี่ยกัน
ขณะที่ระบบเสาโครง นั้น ก็เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน ในการเลือกใช้ระบบนี้ มักจะใช้กับโครงสร้างอาคารที่ต้องการผนังก่ออิฐ ฉาบปูน หรือ ต้องการผนังอาคารเป็นกระจก หรือวัสดุอื่นๆ ตามแบบทางสถาปัตยกรรม แต่ต้องการความรวดเร็ว แข็งแรง ด้านโครงสร้าง
โดยส่วนใหญ่ขั้นตอนการดำเนินการก่อสร้างระบบนี้ ก็ จะดำเนินการจัดเตรียมฐานรากอาคารเหมือนระบบการก่อสร้างปกติ หลังจากนั้น ก็ดำเนินการติดตั้งชิ้นส่วนเสา คานพื้น ที่จัดเตรียมไว้ เมื่อแล้วเสร็จก็จะมีลักษณะของอาคารเหมือนการก่อสร้างในระบบปกติทั่วไป
************************************************************************
บ้านพร้อมอยู่/ฉ.พฤศจิกายน 2551
Home -Technology /โดย....Mr.T

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของระบบพรีคาสท์

วันนี้จะมาเล่าเรื่องความเป็นมา ประวัติของระบบพรีคาสท์ (precast concrete history) ก่อนที่จะลงรายละเอียดไปมากกว่านี้ เกรงว่าบางท่านอาจจะไม่ทราบที่มาที่ไปว่ามันมีมาาอย่างไร เขามีการใช้ การคิดเลือกใช้วิธีการก่อสร้างระบบพรีคาสท์เนื่องจากสาเหตุอะไรบ้าง ทำไมบางท่านเพิ่งเคยได้ยินกันมาไม่กี่ปีในบ้านเรา นะครับขอเอาเป็นว่ามาเล่าเรื่องให้รับทราบเกี่ยวกับความเป็นมาของพีคาสท์กันก่อนพอสังเขปนะครับ

การก่อสร้างในระบบพรีคาสท์ (Pre-cast constuction method ) หรือระบบฟรีแฟ็บ (Prebabication construction method) นั้นมีมานานหลายร้อยปีย้อนยุคไปตั้งแต่ สมัยกรีก โรมัน อียิปต์ ที่ใช้ระบบก่อสร้างสำเร็จรูปกับอาคารขนาดใหญ่ โดยสกัดหินเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปแล้วนำมาติดตั้งในสถานที่ก่อสร้างที่เรารู้จักกันดี เช่น เสา คาน หรือพื้น (ตัวอย่างของอาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบดังกล่าว คือ ปิรามิดนั่นเอง) หากแบ่งการพัฒนาการหรือแบ่งยุคของการใช้ระบบพรีคาสท์นั้น เราสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

ยุคแรก ของการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยหรือบ้านเรือนจะเน้นการ พัฒนาอาคารให้มั่นคง โดยใช้ไม้ อิฐ หิน ดิน และวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น

ยุคที่สอง เป็นยุคอุตสาหกรรม มีการพัฒนาระบบเครื่องกลที่ใช้ พลังงานเข้ามาช่วยในการก่อสร้าง มีระบบโครงสร้างเหล็กและโครงสร้าง คอนกรีตเสริมเหล็ก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการคิดค้นส่วนประกอบที่ สำเร็จรูปขึ้น
ยุคที่สามซึ่งเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะช่วงปลายของ ศตวรรษที่ 20 มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบและการ ก่อสร้างอาคาร มีการส่งถ่ายข้อมูลอย่างทั่วถึงทุกมุมโลก เกิดการแลก เปลี่ยนข้อมูลเทคนิคการก่อสร้างอย่างมากมาย การก่อสร้างมีการควบคุม มาตรฐานให้สูงขึ้น


เมื่อมีการก่อสร้างที่ใช้รูปแบบเดียวกันมากขึ้น ระบบสำเร็จรูปจึงถูกนำ กลับมาใช้และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนประกอบของอาคารที่มี ขนาดใหญ่ได้ผลิตจากโรงงานและมาประกอบที่สถานที่ก่อสร้างภายหลัง ยิ่งในปัจจุบัน ต้นทุนค่าก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม แรงงานที่มีฝีมือขาดแคลน การควบคุมการก่อสร้างให้ได้มาตรฐานทำได้ยาก
ดังนั้นในสภาวะการปัจจุบัน ที่มีปัญหาการขาดแรงงานกในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ระบบสำเร็จรูปจึงถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคาร ด้วยเหตุ ผลหลัก คือ ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ความรวดเร็วในการก่อสร้าง และคุณภาพของงานที่ออกมามีมาตรฐาน
มาถึงตอนนี้ หลายๆคนคงพอเข้าใจได้บ้างว่าทำไมปัจจุบันเราเริ่มรับทราบว่าระบบก่อสร้างด้วยการนำชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปกับงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย ตึก อาคาร โครงสร้างต่างๆ กันมากขึ้น เช่น อาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมเนียม ทาวน์เฮ้าส์ หรือแม้แต่บ้านเดี่ยวในโครงการอสังหาริมทรัพย์กันอย่างแพร่หลายใน ปัจจุบัน ไม่เพี่ยงเท่านั้น ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เช่น สะพาน อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้า ก็ใช้ชิ้นส่วนคอกรีตสำเร็จรูปกันทั้งนั้นครับ
และคงเป็นเรื่องไม่ไกลตัวนัก ระบบพรีคาสท์มันอยู่รอบตัวเรานี่เองครับ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระบบพรีคาสท์...มั่นคงแข็งแรงแค่ไหน?


หลังจากที่ได้รับทราบแล้วว่าระบบพรีคาสท์หรือพรีแฟบนั้นเป็นอย่างไรแล้ว มาถึงตอนนี้เรามาทราบถึงความมั่นคงแข็งแรง ความทนทานของโครงสร้างระบบพรีคาสท์เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น
บ้านหรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์นี้จะมีความมั่นคงแข็งแรง คงทน สามารถรับแรงหรือรับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใดเบื้องต้นเรามาเปรียบเทียบกันว่า ความแข็งแรงของบ้านหรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบพรีคาสท์ เปรียบเทียบกับการก่ออิฐฉาบปูนทั่วไปนั้น พบว่าความแข็งแรงของระบบโครงสร้างพรีคาสท์มีความแข็งแรงกว่าระบบก่ออิฐฉาบปูน เนื่องจากวัสดุทำด้วยคอนกรีต เสริมเหล็กที่ผ่านขั้นตอนการควบคุมการผลิตที่มีคุณภาพทุกขั้นตอนตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การขนส่งและการติดตั้ง ซึ่งจะแตกต่างจากโครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน ที่คุณสมบัติวัสดุมีความแตกต่างกัน (อิฐและปูนฉาบ) วัสดุที่ใช้มีคุณภาพที่ด้อยกว่าคอนกรีต ฝีมือแรงงานในการดำเนินการมีความแตกต่างกัน มีความผันแปรตามฝีมือช่าง การควบคุมคุณภาพงานขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ของช่างและผู้ควบคุมงาน ทั่วไปมาก

โอกาสที่ผนังจะเกิดการแตกร้าวตามผิวผนัง มุมวงกบประตู-หน้าต่างมีมากกว่าระบบพรีคาสท์ที่ควบคุมคุณภาพที่ดีกว่าโอกาสที่จะเกิดการหลุดล่อนของปูนฉาบมีสูงกว่า ระบบพรีคาสท์ที่มีเหตุการณ์จากภัยธรมชาติ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว พายุ ลมแรง เป็นต้น โครงสร้างพรีคาสท์ที่ออกแบบระบบกำแพงรับแรงจะมีความสามารถต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว หรือแรงลมที่ปะทะอาคารได้ดีกว่าระบบก่ออิฐทั่วไปมาก เนื่องจากผนังรับแรงที่ทำด้วยคอนกรีต นั้นมีค่าความแข็ง (Stifnes)สูงกว่าระบบเสาโครง ผนังก่ออิฐ ที่ไม่สามารถรับแรงด้านข้างได้ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าโครงสร้างพรีคาสท์ แบบกำแพงรับแรงมีความแข็งแรงกว่าโครงสร้างเสา คาน ผนังก่ออิฐทั่วไปเป็นอย่างมากสำหรับกรณีรับแรงลมหรือพายุก็เช่นเดียวกัน กำแพงรับแรงเป็นกำแพงคอนกรีตที่มีความแข็งแรงมากกว่ากำแพงก่ออิฐ

โดยจะเห็นได้จากการับแรงดันของถังเก็บน้ำโดยทั่วไปมักจะทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนการต้านทานแรงดันน้ำหรือแรงลมมีความต้านทานไม่แตกต่างกันนัก อีกกรณีที่ต้องคำนึงถึงคือการเกิดเหตุ เพลิงไหม้นั้น โครงสร้างพรีคาสท์ที่เป็นระบบกำแพงรับแรงมีความต้านทานไฟไหม้มากกว่า 2 ชั่วโมง เนื่องจากคอนกรีตมีคุณสมบัติที่ทนไฟมากกว่ากำแพงก่ออิฐครึ่งแผ่นหรือผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป ซึ่งมีความทนไฟไหม้ประมาณ 1 ชั่วโมง ทำให้โครงสร้างมีความมั่นคงแข็งแรงกว่าและยังสามารถป้องกัน ไฟไม่ให้ลุกลามไปยังห้องข้างเคียงได้ง่าย อีกด้วยส่วนการใช้งานอาคารที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์ การดูแลรักษาสภาพอาคาร ตลอด จนการต่อเติมดัดแปลงอาคารนั้นติดตามฉบับหน้านะคร้าบ

ที่มา: www.home.co.th

ระบบพรีคาสท์ เป็นอย่างไร? มีอะไรบ้าง?


เอาละครับวันนี้เรามาว่ากันต่อเรื่องของ พรีคาสท์ ให้มีความเข้าใจมาขึ้นอีกหน่อยนะครับ เนื่องจากหลายคนคงสังสัยว่าระบบพรีคาสท์คอนกรีต หรือระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปนั้น มันเป็นอย่างไร เขาแบ่งออกเป็นกี่ประเภท?
ะบบการก่อสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป สามารถแยกตามระบบการประกอบเป็น
1.ระบบโครง (Skeleton Systems) เป็นระบบที่แยกส่วนประกอบของโครงสร้างเฟรมออกเป็นส่วนประกอบสำเร็จรูป เช่น เสา คาน แผ่นพื้น เป็นต้น นิยมใช้ในการก่อสร้าง ที่จอดรถ สะพาน โกดัง อาคารทางอุตสาหกรรม สนามกีฬา และอื่นๆ ที่เน้นโครงสร้างขนาดใหญ่
2. ระบบแผ่น (Panel Systems) มีทั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปและแผ่นผนังสำเร็จรูป ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างในตัวด้วย ทำให้การติดตั้งรวดเร็วมาก นิยมใช้ในอาคารประเภท ที่พักอาศัย สำนักงาน โรงงาน โรงแรม และอื่นๆ ที่มีการถ่ายแรงเป็นระบบ ไม่ต้องการช่วงระยะโครงสร้างที่ยาวนัก
3. ระบบกล่อง (Box Systems) ประกอบด้วยพื้นและผนังเป็นชิ้นสำเร็จ อาจจะตกแต่งสำเร็จมาจากโรงงานเลย รวมทั้งมีท่อร้อยสาย ระบบท่อเรียบร้อย หรือเฟอร์นิเจอร์ติดตายพร้อมในกล่องสำเร็จรูปนี้ เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานต่ำที่สุด แต่ใช้คนงานในที่ก่อสร้างน้อยกว่าแบบอื่น เหมาะสำหรับที่พักอาศัยขนาดเล็ก หรือแบบหลายชั้นที่ไม่ต้องการประโยชน์ใช้สอยอื่นร่วมมากนัก ยกตัวอย่างเช่น อาพาทเมนต์ หอพัก เป็นต้น
4. ระบบผสม (Mixed System) จากข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบ รวมทั้งการก่อสร้างแบบเดิมและระบบสำเร็จสามารถนำมาประกอบเป็นระบบผสมได้ อาจจะใช้ระบบโครงสำหรับบางส่วน ระบบแผ่นกับอีกส่วน หรือระบบก่อสร้างธรรมดาในอีกส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่าง
การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปสามารถทำได้ทั้งแบบ โรงงานผลิตถาวร (Permanent Plant) หรือ โรงผลิตชั่วคราว (Field Plant) โรงงานถาวรใช้สำหรับการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่มีความต้องการผลิตจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานเฉพาะที่รับผลิตให้อาคารต่างๆ
ส่วนประกอบของกระบวนการผลิตแยกออกเป็นฝ่ายดังนี้
1. ฝ่าย Production มีหน้าที่รับผิดชอบการผลิต รวมไปถึงการขนส่งไปยังที่ก่อสร้าง
2. ฝ่าย Engineering รับผิดชอบด้านเทคนิคต่างของผลผลิต ผลิตรูปแบบ รายละเอียดของแต่ละชิ้นส่วน
3. ฝ่าย Administration/Finances รับผิดชอบทางการเงิน การควบคุมราคาและจ่ายค่าจ้าง
ในทางปฏิบัติแล้ว กระบวนการผลิตส่วนประกอบสำเร็จรูปย่อมขึ้นอยู่กับชนิดประเภทและรูปแบบของส่วนที่จะผลิต การจัดการกระบวนการผลิตจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม
แต่กระบวนการหลักๆ ประกอบด้วยที่ผสมคอนกรีต ที่ขึ้นรูป ที่เก็บชิ้นส่วนที่เสร็จ การขนส่งไปยังที่ก่อสร้าง นอกจากนี้ยังต้องมีที่ทำส่วนประกอบย่อยอื่นๆ เช่นเฟรมประตู ฉนวน ท่อต่างๆ และชิ้นส่วนในการติดตั้ง เป็นต้น
การบูรณาการระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป จะประสบความสำเร็จมากน้อยย่อมขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจในระบบ จุดเริ่มของการวางรูปแบบอาคารให้สอดคล้องกับชิ้นส่วนสำเร็จรูปตั้งแต่เริ่มต้น
อาคารสำเร็จรูปไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนจากอาคารที่ออกแบบสำหรับการก่อสร้างธรรมดาได้ การประสานงานระหว่างสถาปนิกและผู้ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปซึ่งอาจจะเป็นผู้รับเหมาหรือโรงงาน ก็มีความสำคัญไม่น้อย

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พรีคาสท์ คอนกรีต


วันนี้ ตั้งใจจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับ ระบบพรีคาสท์คอนกรีต (Precast concrete) ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินการก่อสร้างระบบหนึ่ง ที่ปัจจุบันวงการก่อสร้างในบ้านเรา เริ่มนิยมใช้ ถามว่าทำไมเริ่มนิยมใช้ จริงๆ แล้วระบบพรีคาสท์ในบ้านเรามีการใช้มานานมาก แต่มีการเลือกนำไปใช้สำหรับการก่อสร้างบางอย่าง เช่น การก่อสร้างสะพาน ทางยกระดับหรือพวกทางด่วน นั่นเอง ส่วนงานด้านอาคาร บ้าน ห้องแถว ตึกแถวนั้น ก็ ยังไม่นิยมใช้งานกันมากนัก ก็จะมีเห็นบางชิ้นงาน นั่นก็คือ ชิ้นส่วนพื้นสำเร็จรูป แต่หากนับรวมองค์อาคารทั้งหมดแล้วยังน้อยมาก
ทำไมถึงต้องเรียกว่า พรีคาสท์ precast แน่นอนครับหลายๆ คน คงงง หรือยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร เป็นการทำบ้านหรืออาคารแบบของเล่นมาต่อๆกัน เหรอ แล้วคำว่า พรีแฟ็บ prefab มันต่างกันยังไวกับพรีคาสท์ ผมขอแยกหรืออธิบายให้ง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพให้ชัดเจนอย่างนี้นะครับ
คำว่า พรีคาสท์ มาจาก precast นั้นคือ pre+cast คำว่า pre นั่นคือ ก่อน ส่วนคำว่า cast แปลว่า การหล่อหรือการเทในแบบ นั้นเอง เมื่อสองคำมารวมกัน ก็สามารถแปลได้ว่า เป็นการหล่อหรือเทในแบบก่อนนำไปใช้งานหรือก่อนการประกอบ
เอาละครับแล้วมาถึง คำว่า พรีแฟ็บ prefab จริงแล้วน่าจะตัดมาสั้นๆนะครับคำเต็มๆ คือ prefabicate หรือ prefabication คือการประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันก่อนนำไปติดตั้ง ส่วนมากก็มักนิยมใช้กับงานเหล็กที่ตัดเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาต่อกันเป็นรูปร่างที่ต้องการเป็นส่วนๆ แล้วค่อยนำไปประกอบเป็นงานองค์รวม ซึ่งเรื่องว่าการ installation หรือ erection แล้วแต่กรณีครับ
สำหรับงานก่อสร้างที่เลือกใช้ ชิ้นส่วนโครงสร้างที่ทำการหล่อเป็นชิ้นงาน แล้วมาประกอบติดตั้งเป็นโครงสร้างในหน่วยงานก่อสร้างนั้นเรามักเรียกว่า พรีคาสท์ precat contrete ครับ หรือเรียกว่า ชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งแแต่ละชิิ้นส่วนก็จะได้รับการออกแบบให้มีความมั่นคงแข็งแรง ตามหลักวิศวกรรม แตกต่างกันไปตามโครงสร้างอาคารและการทำหน้าที่ของแต่ละช้นส่วนขององค์อาคารนั้นๆ ครับ
แล้วเรามาว่ากันต่อ นะครับ ในส่่วนรายละเอียดของระบบพรีคาสท์ ครับ